ชุ่มคอดีจริงๆ

ชุ่มคอดีจริงๆ

สมุนไพรพื้นบ้าน

สมุนไพรพื้นบ้าน

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ขมิ้น มีประโยชต่อร่างกายยังไง




ประโยชต่อร่ายการของขมิ้น




คนสมัยก่อนมีการใช้ประโยชน์จากขมิ้นในหลาย ๆ ด้าน ทั้งเป็นยาภายนอกและยาภายใน ในส่วนของยาภายนอกเชื่อว่า ขมิ้นชันช่วยรักษาแผล ทำให้แผลไม่เป็นหนอง ช่วยสมานแผล ดังนั้นเวลาที่นาคปลงผมก่อนอุปสมบท หลังจากโกนผมแล้วเขาจะทาหนังศรีษะด้วยขมิ้น เพื่อรักษาบาดแผลที่อาจจะเกิดจากใบมีดโกน
ขมิ้นยังมีสรรพคุณในการรักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ในสมัยที่ยังเล็ก ๆ ตอนยุงกัดเป็นตุ่มแดง คุณยายมักจะใช้ปูนกินกับหมากแต้ม เพราะต้องการฤทธิ์แก้พิษของขมิ้นที่ผสมอยู่ในปูนที่กินกับหมาก และฤทธิ์ของปูนที่ช่วยให้ขมิ้นติดผิวได้ดีขึ้น (ปูนกินกับหมากของคนโบราณได้จากการเผาเปลือกหอยจนร้อนจัด สามารถบดเป็นฝุ่นละเอียดสีขาว แล้วเอาไปผสมกับขมิ้น จะให้สีส้มหรือเรียกเป็นสีเฉพาะว่าสีปูน)
นอกจากนี้ยังนิยมใช้ขมิ้นเป็นเครื่องสำอาง คนในแถบตอนใต้ของเอเชียและแถบตะวันออกไกล ใช้ขมิ้นทาผิวหน้าทำให้ผิวหน้านุ่มนวล คนมาเลเซียและคนไทยสมัยก่อนจะใช้ขมิ้นในการอาบน้ำ ทำให้ผิวผ่องยิ่งขึ้น วิธีการอาบน้ำด้วยขมิ้นนั้นจะทาขมิ้นหมักไว้ที่ผิวหนังสักพัก แล้วจึงขัดออกด้วยส้มมะขามเปียก นอกจากทำให้ผิวหนังนุ่มนวลแล้ว ขมิ้นยังมีสรรพคุณในการป้องกันการงอกของขน ผู้หญิงอินเดียจึงใช้ขมิ้นทาผิวหนังเพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก


ลักษณะทางพฤษศาสตร์
ขมิ้นเป็นพืชในตระกูลชิงจิเบอราซีอี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เคอร์คูมา ลองกา (Curcuma longa L) เป็นพืชที่มีลำต้นใต้ดินเช่นเดียวกับขิงและไพล โดยมากนักจะเรียกส่วนที่เป็นลำต้นนี้ว่าเหง้า ลำต้นส่วนที่เหนือดินมีความสูง ประมาณ 1 เมตร ใบมีขนาดยาว 2-3 ฟุต ปลายใบมน ใบมีสีเขียว ดอกมีสีขาวแกมเหลือง ขมิ้นมักจะขึ้นรวมกันอยู่เป็นกอๆ ส่วนเหง้าจะมีเนื้อ สีเหลืองจัด ถ้าเจริญในดินปนทรายจะให้เหง้ามากกว่าปลูกในดินธรรมดา เจริญได้ดีในฤดูฝน
ขมิ้นเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และแพร่กระจายไปสู่แถบต่างๆ มีบันทึกไว้ว่า มาร์โค โปโล (Marco Polo) ได้นำไปปลูกในจีน เมื่อ พ.ศ.1280 จากนั้นจึงแพร่เข้าสู่ยุโรป และส่วนอื่นๆ ของโลกในปัจจุบันนี้ขมิ้นมีปลูกกันมากในอินเดีย (โดยเฉพาะเมืองมัดราส บอมเบย์ และเบงกอล) ลังกา ภาคใต้ของจีน ไต้หวัน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไฮติ เปรู และจาไมกา ใน แต่ละปีประเทศต่างๆ ผลิตขมิ้นได้ประมาณ 160,000 ตัน ในจำนวนนี้ผลิตจากอินเดียและบังคลาเทศถึง 90 เปอร์เซ็นต์ สำหรับในอินเดียนั้นมีความต้องการขมิ้นเป็นอย่างมาก ขมิ้นที่ผลิตได้ในแต่ละปีจะนำไปใช้ ภายในประเทศมากถึง 98 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือนำไปขายยังสหรัฐอเมริกา ศรีลังกา และญี่ปุ่น
ประโยชน์
ขมิ้นเป็นเครื่องเทศที่ใช้กันมานานแล้ว โดยนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ มากมาย จากหลักฐานที่ค้นพบกล่าวว่า ขมิ้นได้มีใช้กันในชาวแอสซีเรียน (Assyrian) ตั้งแต่ 600 ปีก่อนพุทธศักราช การใช้ขมิ้นส่วนใหญ่ จะใช้เป็นเครื่องแต่งกลิ่น รสและสีในอาหารหลายชนิด เช่น แกงกะหรี่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำไปใช้เป็นยาอีกด้วย เช่น เป็นยาลดกรด ขับลมแก้ปวดท้อง แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อทำให้การบีบตัวของลำไส้ลดลลง ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ขับน้ำเหลือง ใช้รักษารอบเดือนไม่ปกติ น้ำที่ได้จากขมิ้นนำมารักษาโรคผิวหนัง หรือนำมาพอกแก้ปวดตามข้อได้ แก้โรคตา แก้บิดปวดท้อง แก้ดีซ่าน แก้ท้องร่วง นำส่วนเหง้าไปต้มให้สุก แล้วบดให้ละเอียด นำไปทาแก้โรคผิวหนัง ทาตามซอกอับในร่างกายเพื่อบำบัดกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนา เหง้าขมิ้นกินแก้โรคภายในทั้งปวง แก้เสมหะ นำขมิ้นไปต้มกับน้ำนมและน้ำตาลใช้รับประทาน เพื่อป้องกันและรักษาไข้หวัด นอกจากนี้ยังนำไปใช้รักษาแผลสดและทำลายพยาธิได้
นอกจากจะใช้ประโยชน์จากขมิ้นดังกล่าวแล้ว ยังนำไปใช้เป็นสีย้อมและเครื่องสำอางอีกด้วย การใช้เป็นสีย้อมจะพบมากในอินเดีย จีนและบางส่วนของยุโรป ส่วนการใช้เป็นเครื่องสำอางนั้น จะพบมากในแถบตอนใต้ของเอเชีย และในหลายประเทศแถบตะวันออกไกล โดยใช้ขมิ้นทาผิวหน้า จะทำให้มีผิวนุ่มนวล ในมาเลเซียใช้ขมิ้นผสมน้ำสำหรับใช้อาบเพื่อให้ร่างกายสะอาด ในอินเดียใช้ทาที่ผิวหนังของผู้หญิงเพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก จากการศึกษาต่อมาพบว่าขมิ้นยังมีผล ต่อการแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอีกด้วย โดยจะทำให้สายของโครมาติกแยกออกจากกัน เกิดการแตกหัก และถูกทำลายในที่สุด
สารเคมีที่สำคัญ
สารเคมีที่พบในขมิ้นนั้นจะพบในส่วนของน้ำมันหอมระเหยเป็นสำคัญ โดยทั่วไปแล้วขมิ้น จะมีน้ำมันหอมระเหยตั้งแต่ 2-6 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันมีสีเหลืองและเรืองแสงได้เล็กน้อยสารเคมีที่พบมากที่สุดคือ เทอร์มีโรน (termerone) ประมาณ 58-59 เปอร์เซ็นต์ สารนี้มีสูตรโมเลกุลเป็น C15 H22 O รองลงมาได้แก่ ซิงจิเบอรีน (zingiberene) 25 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังพบสารต่างๆ อีกหลายชนิด ได้แก่ ซาบินีน (sabinene), บอร์นีออล (borneol), ซินีออล (cineol), เทอร์พีรอล (termerol), เคอร์คูโมน (curcumone) และฟิลแลนดรีน (phellandrene)
ในสารดังกล่าวนี้นั้นพบว่า เทอร์มีโรนหรือดีไฮโรเทอร์มีโรนและเคอร์คูโมนไม่ได้มีพบอยู่ ในน้ำมันหอมระเหยของขมิ้น แต่เกิดจากการรวมตัวในขณะที่มีการสกัดสารต่างๆ เช่น เคอรีคูโมน จะเกิดขึ้นในขณะที่มีการนำสารพวกอัลคาไล (alkali) เติมในน้ำมันหอมระเหย
นอกจากนี้ยังพบสารที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ เคอร์คูมิน (curcumin) ซึ่งมีประมาณ 1.8-5.4 เปอร์เซ็นต์ สารนี้มีสีเหลืองส้ม หรือสีเหลืองแดง ซึ่งเป็นสีของขมิ้นนั่นเอง สารนี้ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ และกรดอะเซติค
จากการศึกษาต่อมาพบว่า ปริมาณน้ำมันหอมระเหยและเคอร์คูมินในขมิ้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอายุของพืช กล่าวคือขมิ้นที่มีการเจริญเต็มที่แล้วจะมีปริมาณของเคอร์คูมินเปลี่ยนแปลงไป ในช่วงระยะการเจริญตั้งแต่เดือนที่ 5 ถึงเดือนที่ 8 เพียง 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนน้ำมันหอมระเหยในขมิ้น ที่มีการเจริญเต็มที่จะมีปริมาณลดลงและการลดลงจะมีมากที่สุดในเดือนที่ 8 นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ในการปลูกขมิ้นนั้น ถ้าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหรือฟอสฟอรัสหรือโปตัสเซียมหรือทั้งสามชนิด จะทำให้ได้ผลผลิตของขมิ้นเพิ่มมากขึ้น แต่ปริมาณของเคอร์คูมินจะลดลง
ประสิทธิภาพต่อจุลินทรีย์
ขมิ้นมีประสิทธิภาพต่อจุลินทรีย์ได้ทั้งแบคทีเรียและรากล่าวคือ สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดโรคโบทูลิซึม (Clostridium botulism) และโรคในระบบทางเดินอาหาร (เช่น Salmonella spp.) นอกจากนี้ยังยับยั้งการเจริญของราที่ทำให้อาหารเน่าเสีย (เช่น Rhizopus, Penicillium, Aspergillua) ได้อีกด้วย
ขมิ้นนอกจากจะมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้แล้ว ยังกระตุ้นการเจริญของจุลินทรีย์บางชนิดได้อีกด้วย โดยจะกระตุ้นการเจริญของแลคโตบาซิลไลสเตรพโตคอคไค และอี.โคไลได้ดี ซึ่งความสามารถดังกล่าวนี้อาจจะนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องหมักดอง เป็นต้น

น้ำลูกยอ สิ่งดีๆ ที่มองข้ามกัน


ส่วนประกอบน้ำลูกยอครับ




น้ำลูกยอ คุณสมบัติ ข้อมูลผลการวิจัย ของ ดร.ราฟ ไฮเนกี นักชีวเคมี ชาวอเมริกันพบว่า การดื่ม “น้ำลูกยอ” เป็นะรยะๆอยางต่อเนื่อง ช่วยลดอาการเจ็บป่วยของโรคต่อไปนี้ มะเร็ง 78 % โรคหัวใจ 80 % เบาหวาน 83 % โรคอ้วน 72 % สูบบุหรี่ 58 % ความดันโลหิตสูง 87 % โรคภูมิแพ้ 85 % ระบบย่อยอาหาร 80 % นอนไม่หลับ 72 % โรคไต 66 % โรคเครียด 71 % โรคซึมเศร้า 77 % เสริมกล้ามเนื้อ 71 % อารมณ์ดี 79 % ความคิดมึนตื้อ 89 % ปวดข้อ ไขข้ออักเสบ 80 % เรี่ยวแรงไม่มี 91 % อาการเจ็บปวดต่างๆ 87 % อัมพาต 58 % สมองไวขึ้น 73 % ดื่มได้ทุกวันทั้งก่อนและหลังอาหาร(ดื่มก่อนอาหาร ช่วยให้รับประทานอาหารได้ และดื่มหลังอาหาร เพื่อช่วยการย่อย) ช่วยปรับสมดุลให้แก่ร่างกาย ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด การดื่มน้ำลูกยอสามมารถดื่มได้มาก – น้อยตามความต้องการ เพราะสารเซโรนีนในลูกยอ จะถูกกักตุนไว้ในตับ และเมื่อร่างกายต้องการสารเซโรนีน ตับจะขับสารนี้ออกมาช่วยให้อาการเจ็บป่วยลดน้อยลงหรือหายเร็ว สารเซโรนีนจะเป็นตัวควบคุมการทำงานของต่อมทั้งหลายในร่างกาย เช่น ต่อมไทมัสเกี่ยวข้องกับหัวใจ ต่อมหมวกไตเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความเครียดฯ วิธีทำน้ำหมักลูกยอ อัตราส่วน ลูกยอ 7 กก. + น้ำ 10 ลิตร + น้ำตาลทรายแดง 1 กก. + เกลือและน้ำผึ้งรวงพอเหมาะ วิธีทำ ต้มน้ำให้สุก ทิ้งไว้ให้เย็น ใส่น้ำตาลทรายแดง เกลือและน้ำผึ้งรวง คนให้เข้ากัน แล้วใส่ลูกยอสุกที่ขยำให้แหลกแล้วลงในน้ำที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน หมักไว้ 1 – 3 เดือน คนทุกๆระยะเวลา 7 วัน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำหมัก เป็นน้ำหมักที่เข้มข้น นำไปดื่มต่อไป ส่วนกากสามารถนำไปหมักได้อีก 1 – 2 ครั้ง ทำการหมักเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว วิธีรับประทาน ในกรณีดื่มเข้มข้น ใช้ขนาด 1 ถ้วยเปค(ประมาณ 25 – 30 ซีซี) หากต้องการดื่มแบบเจือจาง ให้ผสมน้ำสุกในอัตราส่วน 1 : 3 แล้วเติมน้ำตาลทรายให้หวานตามต้องการ จะใส่น้ำแข็งด้วยก็ได้ ดื่มวันละ 1 – 2 แก้ว ตามต้องการ


อันนี้เป็นบทความ ของ ดร. วินัย ดะห์สัน ครับ


ผู้เขียนเป็นคนที่มักจะได้ลาภปากที่ไม่ทันคาดคิดอยู่บ่อยๆ โดยมักมีผู้ปรารถนาดีนำเอาอาหารแปลกๆ มาให้ได้ทดลองด้วยตนเองอยู่เสมอ หลายเดือนมาแล้วมีคนที่ผู้เขียนไม่เคยรู้จัก นำเอาน้ำลูกยอใส่ขวดสีเขียว ขนาด 75 เซนติลิตร ติดราคาขวดละ 1,800 บาท มาให้ ผู้เขียนได้เห็นราคาแล้วก็ตกใจเพราะไม่เคยคาดคิดว่า น้ำผลไม้อะไรจะมีราคาแพงได้ขนาดนั้น ราคาแพงกว่าไวน์บอว์โดซ์ประเภทชาโตบางยี่ห้อเสียด้วยซ้ำ
เมื่อต้นเดือนที่แล้ว มีชาวบ้านแถบฉะเชิงเทราซึ่งผู้เขียนไม่รู้จักอีกเหมือนกัน นำเอาน้ำลูกยอใส่ขวดใสมาให้ผู้เขียนได้ลองดื่ม คนที่เอามาให้เขายืนยันว่ากรรมวิธีที่ใช้ในการสกัดน้ำลูกยอของเขา ไม่ต่างจากวิธีการผลิตน้ำลูกยอต่างประเทศยี่ห้อดังที่ผู้เขียนได้รับมาในครั้งแรกสักเท่าไหร่ เข้มข้นกว่าและอร่อยกว่าด้วยซ้ำ ว่างั้นเถอะ
จะเกทับบลัฟแหลกกันอย่างไรคงไม่สำคัญ แต่ที่น่าแปลกใจคือ น้ำลูกยอของชาวบ้านที่นำมาให้ผู้เขียน ราคาขายแค่ขวดละ 180 บาท ถูกกว่ากันสิบเท่า อย่างไรก็ตาม แม้จะมีราคาถูกขนาดนี้เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำอ้อย น้ำกระเจี๊ยบใส่ขวดขนาดเดียวกัน ซึ่งขายในราคาประมาณ 20-30 บาทก็ต้องนับว่าน้ำลูกยอยังราคาแพงอยู่มาก
ไม่น่าจะเชื่อนะครับว่ากระแสความคลั่งไคล้น้ำลูกยอของคนไทย จะส่งผลให้ราคาน้ำลูกยอที่ในอดีต ไม่ค่อยมีใครนิยมสักเท่าไหร่กลับกลายมาเป็นน้ำผลไม้ทองคำทำราคาได้สูงถึง 180 บาท สำหรับน้ำผลไม้คั้นปริมาณไม่ถึงลิตร ขนาดราคา 180 บาทยังว่าแพงแล้ว ดังนั้น ขออย่าไปวิจารณ์น้ำลูกยอต่างประเทศที่มีราคา 1,800 บาทเลย
ผู้เขียนไม่ได้สนใจว่าราคาของน้ำลูกยอยี่ห้อดังจากต่างประเทศจะสูงขึ้นหรือลดลงไปกว่านี้ ไม่ได้สนใจว่าน้ำลูกยอชาวบ้านที่พักหลังๆ เห็นมีออกมาจำหน่ายกันหลายต่อหลายเจ้า ราคาถูกบ้างแพงบ้าง ถึงวันนี้จะมีราคาสักเท่าไหร่ สิ่งที่ผู้เขียนสนใจคือ น้ำลูกยอได้กลายเป็นกระแสโภชนาการ ไม่ต่างจากยุคที่น้ำปั่นผักหรือน้ำอาร์ซีชีวจิต กลายเป็นกระแสฮิตขึ้นมาเมื่อกว่าสองปีมาแล้ว
เมื่อปลายเดือนเมษายน ผู้เขียนมีโอกาสไปบรรยายในการประชุมวิชาการด้านโภชนาการ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่โรงแรมมารวยการ์เด้น แถบบางเขน ได้รับคำถามจากนักวิชาการด้านโภชนาการด้วยกันว่าผู้เขียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำลูกยออย่างไร เมื่อมีการกล่าวอ้างว่าน้ำลูกยอช่วยรักษาโรคได้หลายต่อหลายโรค น่าจะเป็นจริงอย่างนั้นหรือเปล่า
คำตอบของผู้เขียนคือ เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว เมื่อกระแสน้ำอาร์ซีชีวจิตหรือน้ำคั้นธัญพืชเก้าชนิด โด่งดังเปรี้ยงปร้าง ผู้คนเชื่อกันว่าน้ำอาร์ซีรักษาโรคได้สารพัดโรคแม้กระทั่งโรคมะเร็ง ผู้เขียนได้รับคำถามลักษณะเดียวกันนี้ ซึ่งผู้เขียนตอบไปว่าเรื่องของน้ำอาร์ซีที่ชาวบ้านแห่แหนกันหาดื่มนั้น เป็นแค่กระแสชั่วครั้งชั่วคราว ขอให้รออีกสักพักหนึ่ง กระแสที่ว่านี้ก็จะจางหายไป
น้ำอาร์ซีที่ครั้งหนึ่งผู้คนเคยเสาะแสวงหากันเหลือเกิน น้ำอาร์ซีสำเร็จรูปมีวางขายกันทั่วไป ถึงวันนี้หาไม่ได้อีกแล้วในท้องตลาด คนที่เคยเรียกหาน้ำอาร์ซีมาดื่มในวันนี้ กลับไม่เคยถามหาถึงน้ำอาร์ซีอีกเลย กระแสนิยมชีวจิตหายไปเสียเฉยๆ เหมือนครั้งหนึ่งที่เคยเกิดกระแสนิยมน้ำปั่นผัก แล้วก็เลือนหายไปไม่ต่างกัน
ความนิยมน้ำลูกยอในวันนี้ เป็นกระแสไม่ต่างจากน้ำปั่นผักและน้ำอาร์ซี ถึงวันหนึ่งผู้คนก็เลิกเห่อเลิกดื่ม ขออย่าได้ซีเรียสกันนักเลย สิ่งที่ควรทราบคือโภชนาการของแท้นั้น ไม่มีกระแสหรอกครับ คนที่ดื่มน้ำลูกยอเป็นน้ำผลไม้ชนิดหนึ่งทำได้อย่างนี้จึงจะเป็นโภชนาการแท้ ปีหน้าก็ยังดื่มน้ำลูกยอได้ แต่หากยึดถือว่าน้ำลูกยอเป็นน้ำผลไม้มหัศจรรย์ใช้ป้องกันรักษาโรคสารพัดถึงวันหนึ่งก็ต้องเลิกดื่ม เพราะเรื่องหลังนี้เป็นแค่กระแสเท่านั้น อะไรที่เป็นกระแสอยู่ได้ไม่นานหรอก
ผู้เขียนจะไม่วิจารณ์ความเชื่อที่ว่า น้ำลูกยอช่วยรักษาโรคได้หลายชนิดตั้งแต่เบาหวานไปถึงมะเร็ง พักหลังๆ ลามไปจนถึงโรคเอดส์ เหตุที่ไม่วิจารณ์เพราะความเชื่อเหล่านี้ไม่มีหลักฐานทางวิชาการ สนับสนุนเลยแม้แต่น้อย ใครที่จ่ายสตางค์แพงๆ ซื้อน้ำลูกยอก็ต้องถือว่าเป็นความพึงใจส่วนตัว
อันที่จริงน้ำลูกยอหากพิจารณาในแง่ของน้ำผลไม้ ก็ต้องถือว่าเป็นน้ำผลไม้ที่มีประโยชน์ จะไปบอกว่าไม่มีประโยชน์คงไม่ได้ คนไทยรู้จักใบยอกันมานานเอามาใช้ทำห่อหมก ทำแกงอ่อม หรือแกงเผ็ดกะทิใส่ใบยอ ที่เห็นกันบ่อยๆ คือ ใช้ทำแกงหอยขม
ยอมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Morinda citrifolia บางครั้งฝรั่งเรียกว่า ผลไม้เนยแข็ง เพราะรสชาติเลี่ยนพอกัน ยอเป็นพืชที่มีประโยชน์ ใบยออุดมไปด้วยแคลเซียม โดยมีแคลเซียมสูงพอๆ กับผักคะน้า ใบยอต้มสักสองช้อนโต๊ะ ให้แคลเซียมสูงพอๆ กับนมหนึ่งแก้วหรือสูงถึง 400 มิลลิกรัม การดูดซึมแคลเซียมแม้จะไม่ดีเท่านม แต่ก็ต้องนับว่าดูดซึมได้ไม่เลวนัก
นอกจากแคลเซียมสูงแล้ว ใบยอรวมไปถึงลูกยอ ยังมีฟอสฟอรัสค่อนข้างสูง ทั้งใบยอและน้ำลูกยอ จึงนำมาใช้บำรุงกระดูกได้ค่อนข้างดี สำหรับวิตามินนั้น ในใบยอรวมไปถึงลูกยอ มีสารเบต้าแคโรทีนสูง สารตัวนี้เป็นสารก่อวิตามินเอแถมยังเป็นสารต้านออกซิเดชั่น ช่วยทำลายอนุมูลอิสระอีกต่างหาก
ดื่มน้ำลูกยอเป็นน้ำผลไม้ จึงให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ดีกว่าน้ำผลไม้หลายชนิดเสียด้วยซ้ำ แต่ก็อย่างที่บอกคือ ประโยชน์ของน้ำลูกยอนั้นเกิดขึ้นในสถานะที่มันเป็นน้ำผลไม้ ไม่ใช่ยารักษาโรค การใช้น้ำลูกยอไปรักษาสารพัดโรคอย่างที่เชื่อกันอยู่นั้น เป็นเรื่องที่เลยเถิดจากความเป็นวิชาการไปค่อนข้างมาก
เมื่อน้ำลูกยอกลายเป็นกระแสความคลั่งไคล้ ราคาหนึ่งขวดขนาด 750 เซนติลิตร 1,800 บาทหรือสองพันบาท จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ผิดคาดสักเท่าไหร่ ซื้อตามกระแสก็ต้องจ่ายแพงอย่างนี้ ก็เหมือนครั้งหนึ่งผู้คนเคยคลั่งต้นบอนสี กระถางหนึ่งราคาเป็นหมื่น พอหมดกระแสแล้วราคาบอนสีตกเหลือแค่ร้อยกว่าบาท น้ำลูกยอราคาเป็นพัน ก็คงมีอนาคตไม่ต่างกันหรอกครับ